วันพุธที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

แบบทดสอบหลังเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่ 4
















ใบงาน













สรุปสาระสำคัญ



สรุปสาระสำคัญ

 การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างชิ้นงาน

การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้วยซอฟต์แวร์ฟลิปอัลบัม มีขั้นตอนดังนี้
  • เสียงไฟล์ภาพวีดีโอเพลงสำหรับนำเข้าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
  • ตั้งค่าหน้ากระดาษของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
  • ใช้เสียงและเพลงประกอบให้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
  • ตั้งค่าหน้าปกหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
  • เพิ่มเนื้อหาข้อความของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
  • แทรกรูปภาพเสียงและภาพยนตร์ในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
  • การสร้างสารบัญในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

ข้อควรปฏิบัติในการทำโครงงาน มีดังนี้
  • ต้องมีการอ้างอิงแหล่งข้อมูลให้ถูกต้องครบถ้วน
  • ใช้ทรัพยากรทั้งในด้านฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์อย่างคุ้มค่า
  • ไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่นเพราะถือเป็นการขโมยทรัพย์สินทางปัญญา
  • สร้อยคำสุภาพเป็นสากลในเนื้อหารายงานของโครงงาน
  • ไม่ใช้โครงงานสร้างความเสียหายต่อผู้อื่น

ความรู้เพิ่มเติม


ความรู้เพิ่มเติม

 
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แตกต่างจากหนังสือทั่วไปอย่างไร
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไม่ใช่กระดาษซึ่งเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ สามารถสร้างให้มีภาพเคลื่อนไหวได้ ใส่เสียงประกอบได้ แก้ไขและปรับปรุงข้อมูลได้ง่าย สร้างจุดเชื่อมโยงออกไปยังข้อมูลภายนอกได้ มีต้นทุนในการผลิตหนังสือต่ำ ไม่มีขีดจำกัดในการจัดพิมพ์ สามารถทำสำเนาได้ง่ายไม่จำกัด สามารถอ่านผ่านคอมพิวเตอร์และสั่งพิมพ์ผลได้ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 1 เล่ม สามารถอ่านพร้อมกันได้จำนวนมากผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สามารถพกพาสะดวกได้ครั้งละจำนวนมากในรูปแบบของไฟล์คอมพิวเตอร์ สามารถเข้าถึงโดยไม่จำกัดเรื่องสถานที่และเวลา

คำศัพท์น่ารู้

คำศัพท์
 คำอ่าน
 ความหมาย
content
คอน เทนท
 เนื้อหาสาระ
index
อิน เดคซ
 ดรรชนีสารบัญสิ่งตีพิมพ์
research
ริเซิร์ซ
 การวิจัยค้นคว้า




4.10 ข้อควรปฏิบัติในการทำโครงงาน



4.10 ข้อควรปฏิบัติในการทำโครงงาน

ในการทำโครงงานโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างงาน ผู้ทำโครงงานจะต้องคำนึงถึงข้อควรปฏิบัติ ดังนี้

  1. เมื่อมีการนำข้อมูลจากแหล่งข้อมูลอื่นมาใช้ในโครงงานของเรา ต้องมีการอ้างอิงแหล่งข้อมูลให้ถูกต้องครบถ้วนเพื่อเป็นการให้เกียรติสำหรับผู้ที่จะให้ข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อเรา
  2. มีการใช้ทรัพยากรที่คุ้มค่า โดยการนำทรัพยากรที่มีอยู่แล้วมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเช่นการทำโครงการที่มีการใช้ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ทางด้านการตัดต่อภาพยนตร์ ช่วยในการทำโครงงานควรเลือกใช้ซอฟต์แวร์ที่เป็น freeware หรือซอฟต์แวร์ที่มีการติดตั้งไว้อยู่แล้วในเครื่องคอมพิวเตอร์
  3. การทำโครงงานจะต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่น ซึ่งหากต้องการที่จะทำหัวข้อโครงงานที่เคยมีผู้อื่นตามมาแล้วผู้ทำโครงงานจะต้องนำมาต่อยอดหรือพัฒนาให้มีความโดดเด่นกว่าการคัดลอกผลงานผู้อื่นถือว่าเป็นการขโมยทรัพย์สินทางปัญญาที่ไม่สมควรทำกันอย่างยิ่ง
  4. การใช้ถ้อยคำสุภาพในการทำโครงงาน เรื่องจากการทำโครงงานจะมีการเผยแพร่ไปสู่บุคคลภายนอก ดังนั้นการใช้ถ้อยคำต่างๆในการทำโครงงาน ไม่ว่าจะเป็นเล่มรายงานหรือเนื้อหาของชิ้นงานจึงควรใช้คำที่สุภาพและเป็น สากล ไม่ใช้ศัพท์ที่รู้กันเฉพาะกลุ่มหรือภาษาวัยรุ่น
  5. ไม่สร้างความเสียหายต่อผู้อื่น ไม่ทำโครงงานเพื่อใช้โจมตีผู้อื่น การเจาะระบบข้อมูลกันการแจ้งให้ผู้อื่นเดือนร้อน  ให้ร้ายผู้อื่นอื่นให้ชื่อเสียงเสียหาย นอกจากจะเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำแล้วได้ยังถือว่าผิดกฎหมายตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์








4.9 การสร้างแผ่นซีดี


4.9 การสร้างแผ่นซีดี

เมื่อสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรียบร้อยทั้งหมดแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนสุดท้ายที่จะทำก็คือการทำเป็นแผ่น cd เพื่อนำไปเปิดกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นที่ไม่มีซอฟต์แวร์ FlipAlbumได้ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

 1. บนแถบเมนู ให้เลือกเมนู cd marker > Create Album CD จะขึ้นหน้าต่างดังรูป


2. ให้เลือก Create a New Album CD > Single Album on CD


3.  เลือกโฟลเดอร์หรือที่อยู่ที่ต้องการให้เก็บไฟล์งานสำหรับทำ cd


4. เมื่อเลือกที่อยู่ของงานได้แล้ว ให้คลิกที่ปุ่ม Create จะปรากฏหน้าต่าง Album CD Options


  • Set Album Options จะเป็นการตั้งค่าต่างๆเป็นครั้งสุดท้ายก่อนที่จะทำเป็นไฟล์สำเร็จรูปที่ไม่สามารถแก้ไขได้อีก ซึ่งซอฟต์แวร์จะตั้งค่าพื้นฐานต่างๆไว้ให้อยู่แล้ว


  • Set Album CD Title จะเป็นการตั้งค่าชื่อของแผ่นซีดี
  • Preview Album CD เป็นการดูตัวอย่างงานที่จะทำเป็นแผ่นซีดี

5. เมื่อตั้งค่าต่างๆเรียบร้อยให้คลิกที่ next จะปรากฏหน้าต่าง burn cd information ซึ่งจะแสดงไฟล์และโฟลเดอร์งานที่ต้องใส่ในแผ่นซีดี


6. ใส่แผ่นซีดีเปล่าแล้วคลิก burn too cd เพื่อเสียงไฟล์และโฟลเดอร์ทั้งหมดลงในแผ่นซีดีหรือคลิก ok เพื่อเก็บไฟล์และโฟลเดอร์ทั้งหมดไว้เขียนใส่แผ่นในคราวหลัง ยิ่งในการทำต้องนำไฟล์และโฟลเดอร์ทั้งหมดที่อยู่ในโฟลเดอร์ อัลบั้มซีดี ลงในแผ่นจึงถูกต้อง











4.8 การสร้างสารบัญในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์


 4.8 การสร้างสารบัญในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

เมื่อเพิ่มหน้าของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ซอฟต์แวร์ฟลิปอัลบัม (FlipAlbum)  จะสร้างหน้าสารบัญ ให้อัตโนมัติ ซึ่งสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลของสถาบันนี้ตามความต้องการได้ แต่มีข้อเสียคือ จะมีกัน ลำดับในทุกทุกหน้าที่เพิ่มเข้ามา และทำการลิงค์หรือเชื่อมโยงไปยังหน้าไปทางให้ ถ้าหากทำการลบรายการออก  หน้าที่ลิงค์ไปก็จะถูกลบตามไปด้วย อีกทั้งตรงส่วนหัวเรื่องก็ยังแสดงข้อความ CONTENTS  ซึ่งไม่สามารถแก้ไขได้ ในความเป็นจริงของการสร้างหนังสือเนื้อหาไม่ได้จบในหน้านั้นๆ ดังนั้นผู้ใช้ต้องสร้างหน้าสารบัญเอง



การสร้างสารบัญในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีขั้นตอนดังนี้
  1. ให้สร้าง Book งานให้เรียบร้อยทั้งหมดก่อน  แล้วลบหน้า CONTENTS ออก โดยการคลิกขวาที่หน้า CONTENTS แล้วเลือก Delete Page 
  2. กำหนดหน้าที่จะสร้างสารบัญ ทำการ Insert Page
  3. พิมพ์รายการของสารบัญหน้า แต่จะต้องพิมพ์รายการละหนึ่งบรรทัด
  4. ที่บรรทัดนั้นให้คลิกขวา เลือกรายการ Set Link…
  5. จะปรากฏหน้าต่าง Set Link ให้คลิกที่ช่อง Page เพื่อเลือกหน้า ดังภาพข้างล่าง
  6. คลิกปุ่ม ok แล้วทำการบันทึกงาน จากนั้นลองทดสอบใช้งานหนังสืออิเล็กทรอนิกส์













4.7 การแทรกรูปภาพ เสียง และภาพยนตร์ในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์


4.7 การแทรกรูปภาพ เสียง และภาพยนตร์ในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

ในการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ให้มีความน่าสนใจบางครั้งก็จำเป็นต้องใช้สื่อต่างๆ ภาพประกอบ เสียงบรรยาย เสียงประกอบเนื้อหา รวมไปถึงภาพยนตร์ ซึ่ง softwareฟลิปอัลบัม ได้กำหนดรูปแบบของไฟล์นอกเหนือจากข้อความเป็นไฟล์มัลติมีเดีย ได้แก่ ไฟล์รูปภาพ ไฟล์เสียง และไฟล์ภาพยนตร์ ดังนี้

การแทรกรูปภาพ
สามารถรองรับไฟล์มาตราฐานหลายนามสกุล งานอยู่ เช่น .gif, .tif, .bmp, .jpg, .pcx, .ico, .wmf, .png, .psd เป็นต้น

การแทรกเสียง
สามารถรองรับไฟล์มาตรฐาน wave audio (.wav) midi audio (.mid)และmp3 audio (.mp3)

การแทรกภาพยนตร์
การแทรกรูปภาพ เสียง และภาพยนตร์ในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีขั้นตอนดังนี้

1.คลิกขวาบริเวณพื้นที่ว่างของหน้าที่ต้องการแทรกภาพให้เลือก Multi-Media Object…
2. เมื่อปรากฏกรอบหน้าต่างใหม่ ชื่อ Insert Multi-Media Objects ให้เลือกไปยังแหล่งที่เก็บไฟล์ภาพที่ได้เตรียมไว้ ซึ่งเมื่อพบจะเห็นรายการเป็นชื่อไฟล์ทางช่องขวามือ แต่ถ้าหากอยากเห็นไฟล์ข้อมูลเป็นลักษณะรูปภาพกรอบเล็กๆ หรือ Thumbnail ให้คลิกปุ่ม View as Thumbnail



ในการนำไฟล์รูปภาพเข้ามาประกอบหน้าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีวิธีนำเข้ามาอยู่ 2 ลักษณะดังนี้

1 Insert As Copy :  เป็นวิธีนำไฟล์รูปภาพเข้ามาในห้องสร้างงานจริงๆ ( แนะนำให้ใช้วิธีนี้)
2 Insert As link : วิธีใช้เชื่อมไฟจากแหล่งอ้างอิงภายนอกเวลา package จะต้องนำห้องต้นทางนำไปรวมไว้ด้วย วิธีนี้อาจเกิดการสับสนกับตำแหน่งจริงๆทำให้ไม่สามารถแสดงไฟล์รูปภาพได้

3. นำไฟล์ไปรูปภาพเข้ามาแทรกโดยวิธีลากไฟล์เข้ามาวางลงในหน้าหนังสือ
4. การปรับเลื่อนรูปภาพในตำแหน่งซอฟต์แวร์ ฟลิปอัลบัม (FlipAlbum) นี้ สามารถเลื่อนรูปภาพไปยังตำแหน่งที่ต้องการได้ทันที ซึ่งซอฟต์แวร์จะแสดงรายละเอียดของขนาดภาพ รวมถึงตำแหน่งภาพให้ด้วย

การแทรกไฟล์รูปภาพ เสียง และภาพยนตร์ มีขั้นตอนการแทรกไฟล์เหมือนกันนอกจากนี้ยังสามารถเติมความน่าสนใจให้กับฟิล์มภาพยนตร์ด้วยการใส่กรอบและเงา การเพิ่มลิงค์หรือการเชื่อมโยงไปยังแหล่งข้อมูลทั้งภายใน Book   หรือไปยังเว็บไซต์ภายนอกได้ด้วย โดยคลิกขวาที่ตัวประกอบภาพยนตร์แล้วเลือกเงื่อนไขเพิ่มเติมตามที่ต้องการ






4.6 การเพิ่มเนื้อหาข้อความของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์


4.6  การเพิ่มเนื้อหาข้อความของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

การเพิ่มเนื้อหาข้อความของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มีขั้นตอนดังนี

 1. เมื่อสร้างห้องงานใหม่จะมีเพียงแค่ 4 หน้า ได้แก่ หน้าปก สารบัญ เนื้อหา และปกหลัง การใส่เนื้อหาจึงต้องมีการเพิ่มหน้าใหม่ขึ้นมาก่อน โดยการคลิกขวา แล้วแลือก Insert Page


              2. หลังจากเพิ่มหน้าใหม่แล้วจะสามารถแทรกเนื้อ ข้อความต่างๆโดยการคลิกขวาที่หน้าเปล่า แล้วเลือก Annotate…


3. เมื่อปรากฏกล่อง Annotation  และช่องสำหรับพิมพ์ข้อความ โดยสามารถกำหนดขนาดหรือกำหนดสีให้กับอักษรและสามารถเลือกรูปแบบตัวอักษร เช่น ตัวหนา ตัวเอียง มีเส้นใต้ ได้ตามที่ต้องการ

นอกจากนี้ยังสามารถกำหนดแหน่งที่ชิดซ้าย ชิดขวา หรือกึ่งกลางได้เหมือนกับซอฟต์แวร์จัดเอกสารทั่วทั่วไป


             4. ผู้ใช้สามารถปรับการตั้งค่าของแต่ละหน้าของหนังสือได้ โดยคิดขวาที่หน้าของหนังสือที่ต้องการตั้งค่า แล้วเลือก Page Properties... มีหน้าต่าง ขึ้นมาให้ตั้งค่า นอกจากนี้ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนสีพื้นหลังของหน้า หรือใส่เป็นรูปภาพ หรือจะแทรกไฟล์เสียงไว้ก็ได้เช่นกัน










4.5 การตั้งค่าหน้าปกหนังสืออิเล็กทรอนิกส์


4.5 การตั้งค่าหน้าปกหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

การตั้งค่าหน้าปกหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีขั้นตอนดังนี

1. ไปที่คำสั่ง Options  คลิกเลือก Set Book Options


          2. เมื่อปรากฏหน้าต่าง Set Book Options เลือกที่ Tap ของ Book Cover  จะได้ผลลัพธ์ดังภาพ


         3. เลือกใช้ลายหน้าปกหรือสีตามต้องการ หรือจะเปลี่ยนทั้งทีม เลยก็ได้เช่นกัน








4.4 การใส่เสียงและเพลงประกอบในสื่ออิเล็กทรอนิกส์


4.4 การใส่เสียงและเพลงประกอบในสื่ออิเล็กทรอนิกส์

การใส่เสียงและเพลงประกอบในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีขั้นตอนดังนี้

1. ไปที่คำสั่ง Options  คลิกเลือก Set Book Options


2. เมื่อปรากฏหน้าต่าง Set Book Options เลือกที่ Tab ของ Audio ซึ่งจะปรากฏดังภาพ โดยในส่วนนี้จะสามารถกำหนดเสียงให้ได้เลือกใช้อยู่ 2 สถานะดังนี้

1. สถานะเสียงเปิดหน้าหนังสือ หรือ Enable Flipping sound  ซึ่งจะได้ยินเสียงระหว่างเปิดหนังสือ โดยเสียงนี้เป็นเสียงค่าเริ่มต้นที่มากับซอฟแวร์
2. สถานะเสียงเพลงประกอบ เป็นสถานะที่แสดงผลเป็นเสียงเพลงในขณะที่ ใช้งานอัลบั้มอยู่ โดยเพลงนี้เป็นเพลงที่ได้เลือกเตรียมไว้

       3. นำไฟล์เสียงเข้ามา โดยคลิกที่ปุ่ม Add เพื่อไปยังที่เก็บข้อมูลเสียงเพลงที่เตรียมไว้ เมื่อได้ครบตามจำนวนที่ต้องการ รายชื่อเพลงจะถูกเก็บไว้ใน List แล้วคลิกปุ่ม OK เมื่อใช้งานเพลงที่เตรียมไว้ก็จะบรรเลงต่อเนื่องจนครบทุกเพลง และทำการเล่นวนตลอดเวลาที่เปิดอัลบั้ม




ฟลิปอัลบั้ม (FlipAlbum) ก็เหมือนหนังสือที่ต้องมีปกด้านหน้า ปกด้านหลัง รวมถึงกระดาษที่ใช้วางสื่อและวางข้อความ ปกนับเป็นมุมมองแรกที่ผู้ใช้ได้เห็น การออกแบบที่ดีจะช่วยเพิ่มคุณค่า และความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น แม้ว่าฟลิปอัลบั้ม จะมีรูปแบบปกมาให้เลือกได้เลือกใช้หลายแบบ ในบางสถานการณ์จำเป็นต้องใช้ปกเฉพาะงานที่ต้องการ ฟลิปอัลบัม ก็ยืดหยุ่นให้สามารถเปลี่ยนแปลงและกำหนดขึ้นใหม่ได้









4.3 การตั้งค่าหน้ากระดาษของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์


4.3 การตั้งค่าหน้ากระดาษของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

การตั้งค่าหน้ากระดาษของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มีขั้นตอนดังนี้


1. ไปที่คำสั่ง Options  คลิกเลือก Set Book Options



2. เมื่อปรากฏหน้าต่าง Set Book Options เลือกที่ Tab ของ Page Margins ถึงจะปรากฏดังภาพ ให้ทำการกำหนดขอบกระดาษตามความต้องการโดยคิดเป็น % ของเอกสารเสร็จแล้วคลิกปุ่ม OK









4.2 การเตรียมสร้างงานหนังสืออิเล็กทรอนิกส์


4.2 การเตรียมสร้างงานหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

การเตรียมสร้างงานหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มีขั้นตอนดังนี้

1. เปิดซอฟต์แวร์ ฟลิปอัลบัม (FlipAlbum)
จะเกิดหน้าต่าง ดังภาพข้างล่าง ไปที่เมนู Folder  เลือกรายการ New Folder…


โปรแกรม FlipAlbum

2. ตั้งชื่อห้องงาน
เมื่อปรากฏหน้าต่าง Create a new folder  ที่ช่อง  Folder name ให้ตั้งชื่อห้องงาน เลือกตำแหน่งที่ใช้เก็บงานที่สร้างนี้ เมื่อทำการระบุเรียบร้อยแล้ว ให้คลิกปุ่ม Create



ตั้งชื่อห้องงาน


3. ซอฟต์แวร์ ฟลิปอัลบัม (Flip Album)
จะทำการสร้างห้องงานนำไปวางยังตำแหน่งที่ได้ระบุไว้ และที่ Title Bar จะแสดงสถานะให้เห็นด้วย ถึงขั้นตอนนี้ ซอฟต์แวร์ ก็พร้อมที่จะใช้สร้างงานตามที่ได้วางแผนและออกแบบไว้แล้ว


Title Bar ของโปรแกรม FlipAlbum








4.1 การสร้างสืออิเล็กทรอนิกส์ด้วยซอฟต์แวร์ฟลิปอัลบัม (FlipAlbum)


4.1 การสร้างสืออิเล็กทรอนิกส์ด้วยซอฟต์แวร์ฟลิปอัลบัม (FlipAlbum)


หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book ย่อมาจาก electronic Book) หมายถึง การนำหนังสือเล่มหนึ่งกหรือหลายๆเล่ม มาออกแบบใหม่ให้อยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์ โดยปรับปรุงหรือเปลี่ยนแลงข้อมูลเหล่านั้นให้อยู่ในรูปของตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง ลักษณะที่ตอบโต้กันได้ (interactive) และการเชื่อมโยงแบบไฮเปอร์เทกซ์ สามารถทำบุ๊กมาร์กและหมายเหตุประกอบตามที่ผู้ใช้ต้องการได้โดยอาศัยพื้นฐานของหนังสือเล่มเป็นหลัก
ในปัจจุบันการนำเสนอด้วยสื่อที่สร้างจากคอมพิวเตอร์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนมีความหลากหลายในการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ จนกระทั่งสามารถแทรกสื่อมัลติมีเดียเข้าไปในชิ้นงาน มีลูกเล่นที่น่าสนใจ การพัฒนามัลติมีเดียอีบุ๊ค มีซอฟต์แวร์ช่วยหลายตัวโดยซอฟต์แวร์ที่โดดเด่นเป็นตัวหนึ่ง คือฟลิปอัลบัม (FlipAlbum) โดยความสามารถของซอฟต์แวร์ที่ทำให้การนำเสนอสื่อออกมาในรูปแบบ 3D Page-Flipping interface ไม่มีชื่อเรียกเฉพาะว่า ฟลิปบุ๊ก (FlipBook)
ในการทำโครงงานโดยใช้คอมพิวเตอร์สร้าง ผู้ทำจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับหลักทำโครงงาน ซึ่งรวมไปถึงซอฟต์แวร์ที่จะใช้ทำชิ้นงานว่าซอฟต์แวร์นั้นมีความสามารถในการสร้างชิ้นงานทางด้านใด  เช่น การนำเสนอ การออกแบบ การเปลี่ยนซอฟแวร์เป็นต้น ในที่นี้จะเสนอซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์โดยใช้ซอฟต์แวร์ ฟลิปอัลบัม (FlipAlbum)
ฟลิปอัลบัม (FlipAlbum) เป็นอีกซอฟต์แวร์หนึ่งที่มีพัฒนาการ เป็นที่นิยมใช้ในการสร้างสื่อเพื่อใช้แนะนำสินค้า ทำสมุดภาพและอื่นๆอีกมากมาย และได้ถูกพัฒนานำมาสร้างเป็นบทเรียนสำเร็จรูปในแบบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่รองรับการสร้างข้อความภาษาไทยทได้ดี ใช้ได้กับไฟล์รูปภาพมาตรฐานหลายนามสกุล รวมถึงไฟภาพยนตร์ด้วย


โปรแกรม FlipAlbum

รองรับไฟล์มัลติมีเดียได้หลากลาย ไฟล์รูปภาพ เช่น IF,JPG,PNG,BMP,WMF,ICO,PCX,TIE,PCD,PSD,OEB Package Format (OPF)  ไฟล์เสียง เช่น MID,WAV,MP3 และไฟล์วีดีโอ เช่น AVI,MPG  เป็นต้น
 การเริ่มต้นใช้งานซอฟต์แวร์ ฟลิปอัลบัม (FlipAlbum) เพื่อสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ผู้ใช้จะต้องเตรียมทั้งเนื้อหา รูปประกอบเนื้อหา สื่อมัลติมีเดียต่างๆ เช่น ไฟล์รูป ไฟล์เสียงและภาพยนตร์ ซึ่งการสร้างงานนี้จะคล้ายกับการออกแบบสื่อเอกสารลักษณะหนังสือที่จะต้องพิจารณาด้านรูปแบบสีสัน ความเหมาะสมในแต่ละหน้าเป็นหลักสำคัญ

การวางโครงสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
ก่อนการสร้าง e-Book นั้น การออกแบบและวางโครงสร้างโดยรวมของเนื้อหาวิชาถือเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก เพราะโครงสร้างของเนื้อหาดังกล่าวจะมีความสัมพันธ์โดยตรงในการเข้าถึงเนื้อหา ดังนั้นผู้จัดทำควรออกแบบและจัดวางโครงสร้างที่จะนำมาสร้างเป็น e-Book ก่อน โดยอาจใช้หลักการพื้นฐานของการจัดรูปแบบของหนังสือ

รายละเอียดของแต่ละหัวข้อ
  1. ชื่อเรื่อง หรือ ปก e-Book แสดงชื่อเรื่องของเนื้อหาที่จะนำเสนอ รายชื่อผู้จัดทำ
  2. คำนำ กล่าวถึงรายละเอียดโดยรวมของเนื้อหา และวัตถุประสงค์ของการจัดทำ e-Book
  3. สารบัญ แสดงถึงหัวข้อหลักและหัวข้อย่อยทั้งหมดของ e-Book โดยโปรแกรม Flip Album จะกำหนดหน้านี้โดยอัตโนมัติและชื่อว่า Content
  4. เนื้อหา จะนำเสนอเนื้อหาทั้งหมดที่จะนำเสนอ จัดทำเนื้อหาออกเป็นหัวข้อย่อยเพื่อง่ายต่อการอ่านของผู้อ่าน หรืออาจนำเสนอในรูปแบบของไฟล์รูปภาพและไฟล์เสียง มาประกอบ เป็นต้น
  5. บรรณานุกรม คือ ส่วนที่ใช้ในการอ้างอิงถึงรายชื่อหนังสือที่นำมาใช้ประกอบในการจัดทำ e-Book
  6. ดัชนี หรือ Index คือ ส่วนที่แสดงรายชื่อของหัวข้อในแต่ละหน้าและหมายเลขหน้าของ e-Book โดยโปรแกรม Flip Album จะกำหนดหน้านี้ให้โดยอัตโนมัติและใช้ชื่อว่า Index

การวางโครงสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์





แบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่ 4