วันพุธที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

3.4 อุปกรณ์ดิจิทัลที่ช่วยในการนำเสนองาน


3.4 อุปกรณ์ดิจิทัลที่ช่วยในการนำเสนองาน

อุปกรณ์ดิจิทัลที่สามารคถ่ายทอดภาพและเสียงในงงานนำเสนอเพื่อให้งานนำเสนอมีคุณภาพเข้าถึงผู้ชมและฟังได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีดังนี้

โพรเจกเตอร์ (Projector)
เป็นอุปกรณ์ภาพที่ใช้ในการนำเสนอ โดยสามารถรองรับสัญญาณภาพจจากคอมพิวเตอร์ เครื่องเล่นวีซีดี เครื่องเล่นดีวีดี และเครื่องกำเนิดภาพอื่นๆ แล้วแสดงผล ขยายขนาดบนจอรับภาพช่วยให้มองเห็นภาพหรือข้อความข้อได้อย่างชัดเจน



โพรเจกเตอร์

จอรับภาพ


วิชวลไลเซอร์ (Visuslizer)
เป็นอุปกรณ์ฉายภาพระบบดิจิทัลประเภทหนึ่ง ซึ่งพัฒนามาจากโอเวอร์เฮดหรือเครื่องฉายข้ามศีรษะ ใช้แสดงภาพวัตถุและเอกสารสู่จอรับภาพที่มีอยู่จริงได้เลยโดยไม่ต้องดัดแปลง อุปกรณ์นี้เหมาะสำหรับใช้ในการนำเสนองานต่างๆ โดยเฉพาะครู-อาจารย์ที่สอนหนังสือ และใช้ได้ดีในการนำเสนอภาพนิ่งมากกว่าภาพเคลื่อนไหว แต่ภาพที่แสดงออกมานั้นก็ให้ความคมชัด มีสีสดใส และมีโหมดของการแสดงภาพให้ปรับการทำงานด้วย การควบคุมการทำงานสามารถทำได้โดยใช้รีโมต



วิชวลไลเซอร์

กล้องถ่ายรูปดิจิทัล (Digital Camera)
เป็นอุปกรณ์รับภาพที่เปลี่ยนจากฟิล์มมาเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเมื่อถ่ายรูปที่ต้องการแล้ว รูปจะถูกเก็บลงในหน่วยความจำ (memory) ที่อยู่ในกล้อง เมื่อต้องการดูรูปทำได้โดยการถ่ายข้อมูลจากหน่วยความจำลงบนเครื่องพิมพ์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ภาพที่ได้จะมีขนาดตามที่ต้องการสามารถย่อหรือขยาย ปรับแสงหรือเงาแล้วแต่ความพอใจหรือจะเพิ่มรูปแบบก็สามารถทำได และเมื่อจะถ่ายใหม่ ก็สามารถใช้หน่วยความจำเดิมได้เลย โดยไม่ต้องเสียงเงินซื้อฟิล์ม


กล้องถ่ายรูปดิจิทัล

กล้องถ่ายวีดีทัศน์ดิจิทัล
 เป็นอุปกรณ์รับภาพที่บันทึกข้อมูล ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวและเสียงเก็บไว้ในหน่วยความจำแบบแฟสช ภายในกล้องสามารถย่อหรือขยาย ปรับแสงเงาของภาพได้  และในปัจจุบันสามารถคัดลอกข้อมูลลงในแผ่นดีวีดีได้เลยโดยไม่ต้องใช้ไอโฟนลงในเครื่องคอมพิวเตอร์


กล้องวีดิทัศน์ดิจิทัล


คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะคอมพิวเตอร์ขนาดสมุดบันทึกหรือโน้ตบุ๊ก
อุปกรณ์ที่ใช้สร้างงานนำเสนอเป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงอุปกรณ์อื่น เช่น โพกเจกเตอร์ เพื่อนำเสนองาน เลิกใช้นำเสนองานผ่านจอเครื่องคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ


คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก

เครื่องเล่นเสียง หรือเครื่องเล่น MP3
เป็นอุปกรณ์เครื่องบรรจุข้อมูลเสียงที่ใช้เล่นในคอมพิวเตอร์และสามารถถ่ายโอนข้อมูลเข้าไปในคอมพิวเตอร์ได้ โดยข้อมูลเสียงนั้นใช้เทคโนโลยีบีบอัดให้มีขนาดเล็กลงมากกว่าข้อมูลเสียงปกติ 12 เท่า แม้ขนาดข้อมูลจะเล็กลง แต่คุณภาพของเสียงไม่ได้เสียไปด้วย อย่างไรก็ตามหากเรานำข้อมูลเสียงมากจากเครื่องเล่น MP3 ไปเล่นในคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า จะได้เสียงในลักษณะกระตุกหรือใช้การไม่ได้เลย

เครื่องเล่นเสียงหรือเครื่องเล่นเอ็มพีสาม (MP3)

โทรศัพท์เคลื่อนที่บางรุ่น
เป็นอุปกรณ์ตัวกลางที่ผู้ใช้สามารถนำเสนองานที่สร้างด้วยซอฟต์แวร์เพาเวอร์พอยต์ผ่านเครื่องโพรเจกเตอร์ได้สะดวก ง่ายต่อการติดตั้งเพียงเชื่อมต่อโพรเจกเตอร์เข้ากับโทรศัพท์เคลื่อนที่ผ่านสายเคเบิล แล้วเชื่อมต่อโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วยบลูทูธ


โทรศัพท์เคลื่อนที่


นอกจากอุปกรณ์ดิจิทัลที่ช่วยในการนำเสนอผลงานแล้ว  ยังมีส่วนประกอบที่สำคัญในการนำเสนองานคือ  คำบรรยาย  หรือบทพากย์  ซึ่งเป็นองค์ประกอบด้านโสตหรือเสียงนั่นเอง  โดยมีวิธีการและหลักในการพิจารณาดังนี้
1. การบรรยายสด  
เหมาะสำหรับการประชุมหรือสัมมนา  ที่ต้องการให้ผู้ชมมีส่วนร่วม  เพราะผู้บรรยายในกรณีนี้  เป็นผู้ที่รู้เรื่องราวเกี่ยวกับเนื้อหาเป็นอย่างดี  รู้ว่าควรจะเน้นตรงจุดใด  และปฏิกิริยาจากผู้ชม  ทำให้ผู้บรรยายรู้ว่าผู้ชมสามารถติดตาม  ทำความเข้าใจได้เพียงพอหรือไม่  รู้ว่าส่วนไหนจะต้องอธิบายขยายความมากน้อยเพียงใด
2. การพากย์
 เหมาะสำหรับเนื้อหา  ที่สามารถถ่ายทอดได้โดยไม่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้ชม ข้อดี  คือสามารถเลือกใช้เสียงพากย์ที่มีความไพเราะน่าฟัง  สามารถเลือกใช้ดนตรี  หรือเสียงประกอบ (Sound effect) เพื่อสร้างบรรยากาศ  แต่ข้อเสีย  คือไม่มีความยืดหยุ่น  ไม่สามารถปรับให้เหมาะสมกับความรู้สึกของผู้ชมในขณะนั้น







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น